Glutathione
เป็น Amino Acid ที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เองในร่างกาย แต่มีปริมาณน้อยอาจไม่เพียงพอในการนำไปสร้างเป็น Enzyme Glutathione Peroxidase ซึ่งเป็นสาร Antioxidants ป้องกันการเกิดของ Free Radicals และป้องกันการเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ตับ นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการขับล้างสารพิษในกระแสเลือดให้กลายเป็นสารที่ไม่อันตรายและขับออกจากร่างกายทางตับ (Detoxifocation) อย่างไรก็ตามเราสามารถเพิ่มระดับของกลูต้าไทโอน ในร่างกายได้ง่ายๆ โดยการรับประทาน L-Glutathione เข้าไปโดยตรง หรือ รับประทานสารอาหารที่ร่างกายนำไปใช้ในการสร้าง กลูต้าไทโอน เช่น Alpha Lipoic Acid และ N-Acetylcysteine ให้มากขึ้น หรือ การรับประทาน antioxidants อื่น เช่น Vitamin C เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเก็บ กลูต้าไทโอน ที่ตับให้มากขึ้น
Glutathione คืออะไร?
Glutathione (กลูตาไทโอน) เป็นสารประเภท Tripeptide ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 ชนิด ได้แก่ Cysteine, Glycine และ Glutamic acid ที่ร่างกายนำมาใช้ร่วมกับ Selenium ในการสร้าง Antioxidant Enzyme อย่าง Glutathione Peroxidase เพื่อใช้ในการป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระต่อเซลต่างๆในร่างกาย
หน้าที่หลักของ Glutathione มีอยู่ 3 ประการ คือ
Detoxification : กลูตาไทโอนช่วยสร้างเอ็นไซม์ชนิดต่าง ๆ ในร่างกายโดยเฉพาะ Glutathion-S-transferase ที่ช่วยในการกำจัดพิษออกจากร่างกายโดยไปเปลี่ยนสารพิษชนิดไม่ละลายในน้ำ (ละลายในน้ำมัน) เช่น พวกโลหะหนัก สารระเหย ยาฆ่าแมลง แม้แต่ยาบางชนิด ให้เป็นสารที่ละลายน้ำได้ดีขึ้นและง่ายต่อการกำจัดออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันตับ จากการถูกทำลายโดย แอลกอฮอล์ (สุรา) สารพิษจากบุหรี่ ยาพาราเซตามอลเกินขนาด (Overdose) ฯลฯ นอกจากนี้กลูตาไทโอน ประกอบด้วยเอมไซม์ (Tyrosinase) ที่ควบคุมการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน เมื่อร่างกายได้รับ Tyrosinase ในปริมาณที่เหมาะสมจะควบคุมการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน ส่งผลให้เม็ดสีมีอ่อนลงหรือขาวขึ้น
Antioxidant : กลูตาไธโอนมีคุณสมบัติเป็นสารต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น (Antioxidant) ที่มีความสำคัญตัวหนึ่งในร่างกาย และหากขาดไป วิตามินซีและอี อาจจะทำงานได้ไม่เต็มที่
Immune Enhancer : ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์หลายชนิดเพื่อให้ร่างกายต่อต้านสิ่งแปลกปลอมรวมถึงเชื้อแบคทีเรียและไวรัส นอกจากนี้กลูตาไทโอน ยังช่วยสร้างและซ่อมแซม DNA สร้างโปรตีนและ protaglandin แหล่งที่พบ : พบสารชนิดนี้ได้ในพืชผักชนิดต่างๆ ผลไม้ทั่วไปและเนื้อสัตว์ แต่จะพบมากใน Asparagus อะโวกาโด และ Walnut ร่างกายเราก็สามารถสร้างกลูตาไทโอนได้และมีสารหลายชนิดที่ช่วยเพิ่มการสร้างได้แก่ Alpha lipoic acid, Glutamine3, Methionine, Whey Protein, Vitamin B-6, Vitamin B-2 , Vitamin C4 และ Selenium
ภาวะการขาด : โดยปกติแล้วร่างกายเราจะไม่ขาดกลูตาไทโอน นอกเสียจากจะเป็นโรคบางชนิดที่ทำให้เกิดความต้องการสารตัวนี้มากขึ้น หรือโรคที่ต้านการสร้าง Glutathione5 โรคหรืออาการบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับการขาด สารนี้หรือต้องการสารนี้ในปริมาณเพิ่มขึ้น ได้แก่ โรคตับ เบาหวาน โรคความดัน6 ต้อหิน มะเร็ง7 เอดส์ ฯลฯ ในผู้ที่สูบบุหรี่จัดจะพบว่ามีระดับกลูตาไทโอน ในเลือดต่ำ เนื่องจากอัตราในการใช้กลูตาไทโอน เพิ่มขึ้น
ชนิดและขนาดรับประทาน : ปัจจุบันกลูตาไทโอนมีวางจำหน่ายในหลายรูปแบบ เช่น ชนิดเม็ดหรือแคปซูล ชนิดพ่น ชนิดฉีดเข้าเส้นและฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ผู้ป่วยโรคชนิดต่างๆ ที่ตรวจพบว่ามีการขาดสารนี้ควรใช้ตามแพทย์แนะนำ ในแง่ของการป้องกัน หรือเพื่อต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น ขนาดที่รับประทานคือ 500-1000 มก. ต่อวัน ถึงทุกวันนี้ยังไม่พบผลข้างเคียงหรือปฏิกิริยาระหว่างยาของกลูตาไทโอนชนิดรับประทานและไม่มีผลต่อการเพิ่มน้ำหนัก หากไม่ป้องกันและหลบเลี่ยงสงแดดสีผิวก็จะกลับมาเหมือนเดิม
แอล-กลูต้าไธโอน กับ กลูต้าไธโอน เหมือนกันไหม? ตัวไหนทำให้ขาวกว่ากัน?
แอล-กลูต้าไธโอนเป็นสารออกฤทธิ์ของกลูต้าไธโอน ดังนั้นจึงมีประสิทธิภาพมากกว่า แต่ก็สรรพคุณเหมือนกัน และไม่มีผลต่อการเพิ่มน้ำหนัก แต่หากไม่ป้องกันและหลบเลี่ยงสงแดดสีผิวก็จะกลับมาเหมือนเดิม - ทราบหรือไม่กลูต้าไทโอนยังมีส่วนช่วยในการแก้อาการเมาค้างได้อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น